Vitamin A, B and Vitamin E
เปลี่ยนแปลงเมื่อ 07.11.2556
- วิตามินเอ (Vitamin A Acetate) ช่วยบำรุงสายตา และช่วยการมองเห็นในที่มืด ช่วยในการเจริญและพัฒนาของเซลล์บุผิว กระดูก ฟัน
- วิตามินบี1 (Thiamine Hydrochloride) ช่วยเจริญอาหาร ช่วยในการเปลี่ยนแปลงของพวกแป้งและน้ำตาล ป้องกันไม่เกิดการเหน็บชา และระบบย่อยป้องกันท้องผูกได้
- วิตามินบี2 (Riboflavin) ป้องกันการเกิดโรคปากและลิ้นอักเสบ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตรักษาสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท
- วิตามินบี3 (Nicotinamide) ปกป้องริ้วรอยลดรอยเหี่ยวย่น และสร้างความแข็งแรงของชั้นผิวหนังและกระดูก มีความจำเป็นต่อระบบประสาทและการทำงานของสมอง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรน ป้องกันการเกิดการผิดปกติของผิวหนัง การสร้างฮอร์โมน และภาวะโลหิตจาง
- วิตามินบี5 (D-Calcium Pantothenate) ช่วยเสริมคอลลาเจนให้เซลล์ผิว ปกป้องริ้วรอยลดรอยเหี่ยวย่นและสร้างความแข็งแรงของชั้นผิวหนังและกระดูก จำเป็นต่อการทำงานของต่อมอะดรีนัล ( Adrenal medulla ) ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนสำคัญเพื่อรักษาสุขภาพของผิวหนังและระบบประสาท และช่วยให้อาการอ่อนเพลียหายเร็วขึ้น
- วิตามินบี6 (Pyridoxine Hydrochloride) ช่วยเสริมคอลลาเจนให้เซลล์ผิว และสร้างความแข็งแรงของชั้นผิวหนังและกระดูก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็ง ทำให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดียิ่งขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไต และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ จำเป็นต่อการผลิตสารสื่อประสาทมีความสำคัญต่อปฏิกิริยาทั้งหมดในเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโน และกระบวนในการสร้างเม็ดเลือดแดง
- วิตามินบี12 (Cyanocobalamin) ช่วยในกระบวนการเสริมสร้างคอลลาเจน ช่วยบำรุงประสาททำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลดความเครียด และทำให้ร่างกายสามารถใช้ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม ป้องกันภาวะโลหิตจาง
-
วิตามินอี (D-α-Tocopheryl Hydrogen Succinate) สารต้านอนุมูลอิสระปกป้องริ้วรอยลดรอยเหี่ยวย่น และสร้างความแข็งแรงของชั้นผิวหนังและกระดูก มีคุณสมบัติ Antioxidant ซึ่งสามารถ ชะลอการเกิด Free radicals ดังนั้นวิตามินอีเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาผิว มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าวิตามินอี ช่วยลดอาการอักเสบแดงของผิวหนังและผื่นแพ้ได้ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง ช่วยรักษาแผลเป็น และช่วยลดริ้วรอยบนผิว และจากการศึกษาพบว่า ผิวหนังในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า จะมีปริมาณของวิตามินอีมากกว่าบริเวณแขนถึง 20 เท่า เนื่องจากต่อมไขมัน เป็นช่องทางที่สำคัญในการหลั่งวิตามินอีออกสู่ผิวหนัง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เรื่องราวน่ารู้